การ ออกแบบบ้าน ที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไร พิจารณาอะไรบ้าง ใครอยากรู้ตามมาดูการออกแบบบ้านเองให้เป๊ะปังแบบไม่ง้อมืออาชีพกันได้เลย
สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์การออกแบบบ้านและ แปลนบ้าน ถือเป็นเรื่องยากมาก เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานแล้ว ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่น่าปวดหัวอีกต่างหาก ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังจะออกแบบบ้านด้วยตัวเองและกำลังมองหาแรงบันดาลใจอยู่ วันนี้กระปุกดอทคอมรวบรวมเคล็ดลับการออกแบบบ้านอย่างมีประสิทธิภาพมาฝาก
รับรองรู้ไว้ช่วยให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นได้ แถมต้องได้บ้านที่สวยงามตรงตามใจแน่นอน
1. เลือกประเภทที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับสมาชิก
ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะต้องการบ้านขนาดใหญ่ และก็ไม่ใช่ว่าทุกครอบครัวจะเหมาะกับบ้านขนาดเล็ก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดก่อนจะออกแบบบ้าน คือ การเลือกประเภทที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโด โดยลองพิจารณาดูว่า ควรจะพื้นที่เท่าไรถึงจะเข้ากับไลฟ์สไตล์ของทุกคน เพื่อนำไปคำนวนต่อว่าภายในที่พักอาศัยของเราควรมีห้องนอนเท่าไร ห้องน้ำเท่าไร และเพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง
2. ให้ความสำคัญกับเลเอาต์เป็นอันดับแรก
หลักจากเลือกประเภทที่อาศัยได้แล้ว ควรให้ความสำคัญกับแปลนบ้านก่อนการตกแต่ง เพราะแม้บ้านจะสวยงาม แต่ถ้าหากไม่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นใครที่กำลังจะออกแบบบ้านแล้วละก็ ควรออกแบบแปลนบ้านให้เสร็จก่อน โดยพิจารณาว่าจะวางตำแหน่งแต่ละห้องอย่างไร ระหว่างพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ส่วนตัว อยู่ติดกันได้หรือแยกคนละโซนไปเลนดีกว่า เพื่อป้องกันเสียงรบกวน หรือห้องนั่งเล่น ห้องกินข้าว ห้องครัว กั้นผนังดีไหม หรือออกแบบแบบ Open Plan ดีกว่า
3. ตกแต่งให้สอดคล้องกับพื้นที่
หลังจากเลือกแปลนบ้านที่ต้องการได้แล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการตกแต่ง ซึ่งควรเลือกให้สอดคล้องไปกับพื้นที่ ขนาด และการจัดวางแปลนบ้าน เช่น หากภายในบ้านค่อนข้างเล็ก ควรเลือกการตกแต่งสไตล์โมเดิร์น เพราะทั้งโทนสีและการออกแบบในสไตล์นี้จะช่วยให้ภายในบ้านดูกว้างขวาง สว่าง บรรรยากาศปลอดโปร่ง มากกว่าสไตล์เทรดิชันนอลหรือบ้านแบบดั้งเดิม ที่มักจะใช้ผนังกั้นห้องแบ่งพื้นที่ ซึ่งจะทำให้บ้านที่มีขนาดเล็กอยู่แล้วยิ่งดูแคบลง
4. คำนึงถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละจุด
เมื่อได้แบบบ้านที่ถูกใจแล้ว ก็อย่าเพิ่งลงมือทันที ลองพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียของแต่ละจุดสักรอบ เช่น หากเป็นคนชอบหน้าต่างบานใหญ่ ๆ เพราะอยากให้บ้านสว่างและมองเห็นวิวด้านนอกแล้ว อย่าลืมดูด้วยว่าตรงกับทิศแดดหรือไม่ แดดเข้าช่วงไหน ไม่อย่างนั้นก็จะทำให้บ้านร้อน อาจจะต้องติดกันสาดหรือเปลี่ยนผ้าม่านแบบกันความร้อน
5. ตั้งงบประมาณให้ชัดเจน
อีกหนึ่งปัญหาการตกแต่งบ้านที่หลายคนมักจะเจอก็คือ ซื้อของเข้าบ้านเพลินจนเกินไปงบ เพราะอยากได้ไปหมดทุกอย่าง ยิ่งหาก็ยิ่งเจอของที่ถูกใจ ฉะนั้นควรตั้งงบประมาณที่จะใช้ให้ชัดเจนและพยายามควบคุมให้อยู่ในวงเงินที่กำหนดเอาไว้ ป้องกันไม่ให้งบบานปลายหรือเกินได้นิดหน่อยแต่ไม่มากจนเกินไป ที่สำคัญอย่าลืมทำบัญชีเอาไว้ด้วย จะได้รู้ว่าใช้จ่ายกับอะไรไปบ้าง และสามารถลดตรงไหนช่วยประหยัดได้อีก
6. ถามความเห็นจากผู้รู้
ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาภายหลัง ควรปรึกษาหรือถามความเห็นจากคนที่อยู่แวดวงการออกแบบ อาจจะเป็นคนรู้จักที่มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่าง สถาปนิกหรืออินทีเรียเพิ่มเติมด้วย เพราะพวกเขาเหล่านี้มีความรู้ความในเชิงลึก สามารถให้คำปรึกษาได้รอบด้าน รวมถึงการปรับและแก้ไขจุดบกพร่องต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเหมาะสมกับเราและน่าอยู่ยิ่งขึ้น
7. เชื่อสัญชาตญาณตัวเองบ้าง
เพราะการออกแบบบ้านไม่มีผิด ไม่มีถูก ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความเหมาะสมและความต้องการ นอกจากวิธีการออกแบบที่กล่าวมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำตามเป๊ะ ๆ ทุกข้อ สถาปนิก บางอย่างอาจจะดูนอกกรอบไปบ้าง แต่ถ้าลองพิจารณาดูแล้วว่าเป็นสิ่งที่เราชอบและเข้ากับลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน ให้เชื่อสัญชาตญาณและทำตามความต้องการของตัวเองบ้าน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้ารู้สึกว่าใช่ ก็คือใช่ ไม่จำเป็นต้องอิงตามใคร ตามตำราปลูกเรือนตามใจผู้อยู่นั่นเอง
การออกแบบบ้านมีหลาย ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นนอกจากเรื่องการตกแต่งที่สวยงามตามใจชอบแล้ว ก็อย่าลืมคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในบ้าน ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน รวมถึงความสะดวกสบายต่าง ๆ ด้วยนะคะ เพื่อให้บ้านเป็นบ้านที่น่าอยู่อย่างแท้จริง และจะได้ไม่ต้องตามแก้ไขทีหลัง
สร้างบ้านเรื่องยุ่งยากจริงหรือ
เมื่อพูดถึงเรื่องสร้างบ้าน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยากวุ่นวาย ต้องเตรียมเอกสารหลายอย่างและยังต้องเสียเวลาในการติดต่อราชการอีก ซึ่งจริงๆแล้วในปัจจุบันการสร้างบ้าน แทบจะไม่มีความยุ่งยากเลย เพราะว่าบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพจะดำเนินการแทน ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายมากขึ้น
ในการปลูกสร้างบ้านนั้นจริงๆแล้วมีขั้นตอน อยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการติดต่อหน่วยงานราชการที่ต้องใช้เวลานาน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริโภคหลายท่าน ไม่ค่อยสะดวก แต่ในปัจจุบันบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการ ให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลาให้ปวดหัวเลย ซึ่งในการติดต่อหน่วยงานราชการนั้นหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องของ การยื่นขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน โดยใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1.เอกสารแสดงสิทธิของที่ดินหรือโฉนดที่ดิน หากผู้ที่จะสร้างบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จะต้องมีหลักฐานการยินยอมให้สร้างบนที่ดินนั้น
2.แบบก่อสร้างบ้าน จัดเตรียมโดยสถาปนิกและวิศวกร โดยต้องมีรายละเอียดของแบบให้ครบถ้วนตรงตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
3.รายการคำนวณ ของวิศวกร รายละเอียดตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ทั้งนี้เพื่อความแข็งแรงปลอดภัยถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
4.เอกสารแสดงการมอบอำนาจให้เป็นผู้ดำเนินการแทนในการขออนุญาตปลูกสร้าง(กรณีที่เจ้าของไม่ได้เป็นผู้ยื่น)
การขออนุญาตใช้น้ำ-ไฟชั่วคราวในระหว่างก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1. บัตรประชาชน
2. ทะเบียนบ้าน
3.โฉนดที่ดิน
4.ใบมอบอำนาจ
การขอเลขที่บ้าน ซึ่งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1. บัตรประชาชน
2.ทะเบียนบ้าน
3.โฉนดที่ดิน
4.ใบมอบอำนาจ
5.ใบขออนุญาตปลูกสร้าง
และในกรณีที่ลูกค้าขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินบริษัทก็จะดำเนินการให้โดยต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1.บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน/ใบสมรส/ใบหย่า/ใบเปลี่ยนชื่อ
2.โฉนดที่ดิน/ใบขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน
3. แบบบ้าน/เอกสารประมาณราคาบ้าน
4.เสตทเม้นท์/ใบรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือน
ทำไมบ้านชั้นเดียวราคาต่อตารางเมตรจึงแพงกว่าบ้าน 2 ชั้น
เมื่อพูดถึงราคาบ้าน ผู้คนส่วนใหญ่มักจะถามถึงเรื่องของราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตรเพื่อนำมาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ ซึ่งที่มาของราคาบ้านต่อตารางเมตรนั้น เกิดจากการคิดค่าวัสดุ ค่าแรง ค่าดำเนินการและภาษีต่าง ๆ เมื่อนำมารวมกันก็จะเป็นค่าก่อสร้างของบ้านหลังนั้น ๆ และเมื่อนำราคาที่ได้มาหารกับพื้นที่ใช้สอย เราก็จะได้ราคาเฉลี่ยต่อตารางเมตร ซึ่งราคาบ้านต่อตารางเมตรจะถูกหรือแพงนั้นก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ หากเราเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพอาจทำให้บ้านมีราคาสูงตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามในเรื่องของราคาบ้านนั้นก็ ยังมีอีกหลายคนที่อาจสงสัยว่าทำไมบ้านชั้นเดียวราคาต่อตารางเมตรจึงสูงกว่าบ้าน 2 ชั้น ทั้ง ๆ ที่ฟังก์ชั่นและวัสดุที่ใช้ก็เหมือนกัน การออกแบบบ้าน เหตุผลก็คือบ้าน 2 ชั้นนั้นจะมีการใช้โครงสร้าง ฐานราก เสาเข็มร่วมกัน โดยส่วนของหลังคานั้นจะเห็นว่าถูกปกคลุมเพียงแค่ส่วนของชั้นบนเท่านั้นส่วนชั้นล่างล่างจะปกคลุมด้วยพื้นของชั้นบน ซึ่งถ้าหากเป็นบ้านชั้นเดียว ตัวพื้นที่ใช้สอยของชั้น2 จะถูกแผ่กว้างออกรวมกับชั้น1 เพื่อให้ได้พื้นที่เท่ากับบ้าน 2 ชั้น ทำให้ระบบฐานรากสำหรับรองรับน้ำหนักต้องเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว รวมถึงเรื่องของหลังคาที่ต้องแผ่กว้างออกมาเพื่อให้ปกคลุมพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งก็จะทำให้บ้านชั้นเดียวนั้นต้องใช้โครงสร้างฐานรากเสาเข็ม โครงหลังคา และวัสดุมุงหลังคาที่มากกว่า และส่งผลให้ราคาของบ้านชั้นเดียวนั้นมีราคาต่อตารางเมตรที่สูงกว่าบ้าน 2 ชั้นนั่นเอง
การที่เราจะเลือกตัดสินใจปลูกสร้างบ้าน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการศึกษาเรื่องรายละเอียดเกี่ยวแบบบ้าน วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนห้องนอน ห้องน้ำ ที่จอดรถ รวมถึงฟังก์ชั่นอื่น ๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของครอบครัว และสอดคล้องกับงบประมาณที่วางไว้เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลายนั่นเอง
โครงสร้างสำเร็จรูป VS หล่อในที่ ต่างกันอย่างไร
เมื่อพูดถึงระบบการก่อสร้างบ้านในปัจจุบันจะพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ ก็คือระบบโครงสร้างสำเร็จรูปหรือพรีแฟบ (Prefab) เป็นระบบโครงสร้างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และระบบโครงสร้างแบบหล่อในที่ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้กันในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั้ง 2 ระบบนี้ก็จะมีข้อดีและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
โดยระบบโครงสร้างสำเร็จรูปของศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ใช้นั้น เรียกว่า Prefabrication & Multi-joint Lock System หรือ MLS จะเป็นโครงสร้างสำเร็จรูปที่มีการหล่อชิ้นส่วนโครงสร้างจากโรงงานผู้ผลิตขนส่งมายังไซต์งานก่อสร้าง สำหรับการติดตั้งนั้นจะต้องใช้รถเครนยกประกอบติดตั้ง เมื่อนำชิ้นส่วนไปประกอบติดตั้งที่หน้างานจะมีจุดรอยต่อต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าเดือยล็อค (Socket) วิศวกรจะออกแบบโดยคำนวณการรับน้ำหนักของคานเสาต่าง ๆ เพื่อเลือกใช้ขนาด Socket ที่สามารถรับแรงได้เพื่อให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งระบบโครงสร้างสำเร็จรูปนี้จะใช้จำนวนแรงงานที่น้อยกว่าระบบโครงสร้างแบบหล่อในที่ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาขาดแคลนแรงงานและช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างให้เร็วขึ้น
ส่วนโครงสร้างแบบหล่อในที่นั้นเป็นระบบที่อาจจะดูยุ่งยากสักหน่อยเพราะจะต้องมีการเตรียมวัสดุเพื่อไปประกอบโครงสร้างที่หน้างาน จะต้องมีการทำไม้แบบ ผูกเหล็กเส้นและเทคอนกรีตลงไปจำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากรวมถึงใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่นาน ซึ่งข้อดีของระบบนี้คือสามารถทำงานในที่คับแคบได้
จะเห็นว่าระบบโครงสร้างทั้ง 2 แบบนั้นแม้อาจจะมีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบหล่อในที่หรือสำเร็จรูปความมั่นคงแข็งแรงจะมีค่าไม่แตกต่างกัน เพราะว่าในกระบวนการออกแบบวิศวกรได้ออกแบบโครงสร้างทั้ง 2 ชนิดจากข้อกำหนดทางวิศวกรรมทั้งนี้ก็เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นในการเลือกใช้ระบบโครงสร้างจึงอาจจะต้องขึ้นอยู่กับความต้องการหรือพื้นที่นั้น ๆ ว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดเท่านั้นเอง
อยากให้บ้านสวยดูมีดีไซน์เราเองก็ต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากแบบบ้านที่สวยตรงใจแล้ว การเลือกคนสร้างบ้านก็มีความสำคัญ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ก็จะยิ่งทำให้บ้านของเราสวยงามน่าอยู่มากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันด้วยนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย วัสดุก่อสร้างหลายชนิดได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังสามารถทดแทนวัสดุจากธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ซึ่ง “พีดีเฮ้าส์” ในฐานะบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพ ก็ได้ให้ความสำคัญในการเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้าง ก่อ-ฉาบ ฝ้าชายคา ฉนวนกันความร้อน ไปจนถึงวัสดุมุงหลังคา ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับการอยู่อาศัยให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้าง รุ่น Smart ที่ทางพีดีเฮ้าส์ได้เลือกใช้นั้นเป็นวัสดุที่มีความพรีเมียม เพื่อที่จะยกระดับการอยู่อาศัยและให้ผู้บริโภคได้บ้านที่มีคุณภาพสูงสุด
1.วัสดุโครงสร้าง
ฐานราก เสา คาน บันได คอนกรีตสำเร็จรูป Multi-Joint Lock System ผลิตจากโรงงาน (ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กคุณภาพสูง ขนาดและการติดตั้งแม่นยำตามการออกแบบของวิศวกร)
2.วัสดุโครงหลังคา
โครงหลังคาระบบ PD Roof รุ่น Smart คานหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก+โครงเหล็กทรัสเคลือบ Alu-Zinc (AZ-150) ป้องกันการเกิดสนิม (ผลิตจากโรงงาน) พร้อมติดตั้งด้วยระบบน๊อต-สกรู (ไม่ใช้การเชื่อมไฟฟ้า)
3.ระดับพื้นชั้นล่าง – ชั้นบน
ชั้นล่าง สูงกว่าระดับดินในพื้นที่ประมาณ 0.80 เมตร
4.วัสดุมุงหลังคา
กระเบื้องคอนกรีต Adamas Tile แบบเรียบหรือแบบร่อง ชนิดสีน้ำมันกลุ่ม Platinum อุปกรณ์ยึดครอบหลังคาใช้ระบบครอบแห้ง หรือ Metal Sheet ใช้ความหนา 0.47 มม. ภายในติด PE Foam ความหนา 5 มม. หรือ Insulated Roof รุ่น Smart Seam Roof – Standard E (ป้องกันเสียงและความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน)
5.วัสดุหลังคาคอนกรีต
ทำระบบกันซึมชนิดทา TOA Roof seal Sunblock พร้อมติดตั้งฉนวน Stay Cool ของ SCG ความหนา 6” รุ่น Premium บนฝ้าเพดาน
6.วัสดุฝ้าชายคา
ไม้ระแนง Wood Plastic Composite (WPC) ของ PD WOOD รุ่น PWS65 ทำสีธรรมชาติ สวยงาม